หมากแดง

หมากแดง เป็นปาล์มพื้นเมืองในป่าพรุของจังหวัดนราธิวาส มีสีสันสดใส งดงามสดุดตาผู้พบเห็น   เหมาะสำหรับประดับในอาคาร ในร่ม   หรือกลางแจ้ง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดพันธุ์ไม้ประดับในประเทศ   และยังเป็นที่นิยมในเขตร้อนอื่นๆด้วย    แต่เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างหายากและโตช้า   จึงทำให้ราคาสูง   คนจังหวัดนราธิวาสเรียกหมากแดงว่า “หมากกาบแดง”   เพราะกาบใบและก้านใบเป็นสีแดง   มีชื่อสามัญว่า “sealing   wax   palm ”   ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   “cyrtostachys   renda ”   หรือชื่อพ้องว่า   ” c.   lakka ”


ต้นหมากแดงขนาดใหญ่ อาจสูงถึง 20 เมตร


ต้นหมากแดงที่ปลูกอยู่ในวงบ่อ

หมากแดงมีใบแบบขนนก   ใบย่อยเรียงเป็นคู่อยู่บนก้านใบ 20-40 คู่   ยาว 30-50 ซม.   ก้านใบยาว 1-1.5 เมตร   กาบใบยาว 40-50   ซม.


ใบหมากแดง

ลำต้นมีสีเขียวคล้ำสูงถึง 20 เมตร   ใหญ่ 1.5-6 นิ้ว   แตกกอเป็นพุ่ม ไม่แยกเป็นต้นตัวผู้ตัวเมีย   ออกดอกเป็นช่อแผ่กระจายที่เรียกว่า   ” ทะลาย ”   ในหนึ่งทะลายมีเมล็ดได้สูงสุดถึง   20,000 เมล็ด   แต่ปกติมี   3,000-8,000   เมล็ด


ช่อดอกที่พึ่งออก 


ช่อดอกที่ดอกบานแล้ว


เมล็ดหมากแดงที่ยังเล็กอยู่จะเป็นสีเขียว


เมล็ดหมากแดงที่ใหญ่ขึ้นมา


เมล็ดหมากแดงเมื่อแก่เต็มทีจะมีสีม่วงดำ ถึงดำ

การขยายพันธ ุ์สามารถทำได้ทั้งการแยกหน่อ และการเพาะเมล็ด   การแยกหน่อทำได้คราวละจำนวนน้อยตามขีดจำกัดของหน่อที่มีอยู่ ใช้เวลานาน   เปอร์เซ็นต์รอดต่ำ และทรงต้นไม่เป็นที่พอใจผู้พบเห็น   การเพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดที่แก่จัดมีสีดำเพาะในวัสดุเพาะที่ประกอบด้วยทราย อย่างเดียว   หรือทรายผสมขุ่ยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกแล้ว   ระหว่างการเพาะไม่ควรให้วัสดุเพาะแห้ง(ต้องรดน้ำสม่ำเสมอ)   หากเพาะในตู้อบชื้นได้เป็นดีที่สุด โดยให้แสงรำไร(10-20%)   เมล็ดจะงอกภายใน   2-4 เดือน   ต้นกล้าที่มีใบ 1ใบ เหมาะสำหรับการย้ายปลูกในถุงเพาะชำและยังเหมาะกับการขนย้ายทางไกลเช่น   การส่งทางพัศดุไปรษณีย์   เพราะเมล็ดยังมีอาหารสะสมอยู่   ไม่เสียหายแต่ประการใด


เมล็ดหมากแดงเพาะในแปลงทราย


เมล็ดหมากแดงเริ่มงอกภายใน 2-4 เดือน


กล้าหมากแดงขนาด 2-4 ซม. อายุประมาณ 3-5 เดือน


กล้าหมากแดงอายุ ประมาณ 6-7 เดือน


เมล็ดหมากแดงเพาะในตู้อบชื้น

การปลูก เนื่องจากหมากแดงโตช้ามากใน ช่วงแรก   ( 3ปีได้ความสูงประมาณ 30 ซม.   5ปีได้ 1 เมตร )   ในการเพาะชำกล้าจึงแนะนำให้ใช้ภาชนะปลูกขนาดเล็กก่อน (แต่อย่าเล็กเกินไป   เพราะจะอุ้มน้ำไม่พอ   กล้าจะโตช้า ) แนะนำให้ใช้ถุงดำขนาด   4″x6″ (หรือถุงพับข้าง 2″x6″)ก่อน   หลังจากเลี้ยงไปได้ 12-18 เดือน จะได้ต้นหมากแดงสูง 10-15 ซม. แล้วจึงค่อยเปลี่ยนภาชนะปลูกให้ใหญ่ขึ้น   โดยเปลี่ยนมาใช้ถุงดำขนาด 8″x10″แทน(หรือถุงพับข้าง 4″x10″)


หมากแดงต้นเล็กปลูกเลี้ยงในถุงดำขนาดเล็ก(ถุงพับข้าง 2″X6″)

การดูแลรักษา หมากแดงเป็นพืชที่คลายน้ำมาก จึงต้องการน้ำมากในขณะยังเล็กอยู่ จำนวนรากยังมีน้อยอยู่มักจะดูดน้ำไปเลี้ยงยอดหรือใบไม่ทัน   ทำให้ต้นหมากแดงตายเป็นจำนวนมากในช่วงเวลานี้   ดังนั้นจึงควรให้แสงแต่เพียงเล็กน้อย (แสงรำไร) เพื่อลดการคายน้ำ โดยให้แสงประมาณ 10-20 %(ใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ   80-85 % (no.1210)คลุมโรงเรือน   หรือจะใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ 60%(no.810) 2ชั้นก็ได้   ใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณ   12-18 เดือน แล้วจึงเพิ่มแสงมากขึ้นได้โดยเลี้ยงที่แสง 40-50% (ใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ 60%(no.810)เพียงชั้นเดียว)
น้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเลี้ยงหมากแดง จะต้องรดน้ำทุกวันโดยไม่รอให้ดินแห้งก่อน หากดินปลูกแห้งอาจทำให้ต้นหมากแดงขาดน้ำตายได้   ในช่วงที่ทำการย้ายกล้าใหม่ควรรดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง   จนกว่ากล้าหมากแดงตั้งตัวได้ดีแล้ว จึงค่อยลดการรดน้ำเหลือวันละครั้ง


รดน้ำด้วยสายยางประหยัดน้ำแต่ใช้แรงงานมาก 


รดน้ำด้วยสปริงเกอร์ใช้น้ำมากแต่ประหยัดแรงงาน

ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยกับหมากแดงขนาดเล็ก อยู่ในภาชนะขนาดเล็ก ไม่ควรที่จะให้ปุ๋ยเม็ด(ปุ๋ยเคมี) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกเก่าๆที่แห้งดีแล้วหรือปุ๋ยหมัก ผสมลงไปในดินปลูกเลยในช่วงการเตรียมดิน โดยใช้ไม่เกิน 10%    หลังจากปลูกกล้าหมากแดงแล้ว ให้ใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 ละลายน้ำขนาดความเข้มข้น 60-100 กรัม(4-6 ช้อนโต๊ะ)   ต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทุก 7-10 วัน จะทำให้ต้นหมากแดงเจริญเติบโตได้ดีขึ้น


กองปุ๋ยคอก(มูลไก่แห้งป่น) ในถัง200ลิตรเป็นถังปุ๋ยปลากับถังอีเอ็ม

โรค โรคที่พบบ่อยสำหรับต้นกล้าหมากแดง หรือหมากแดงที่มีขนาดเล็กอยู่ คือโรคใบจุด   ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลบริเวณใบและกาบใบ จุดนี้จะขยายใหญ่ขึ้นจนอาจทำให้ต้นตายได้   หากตรวจพบให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันเชื้อราทุก 5-7 วัน ในระยะเกิดโรค หรือใช้จะใช้หัวเชื่ออีเอ็มผสมน้ำฉีดพ่นแทนก็ได้
แมลง แมลงศัตรูที่พบบ่อย   มีพวกหนอนผีเสื้อ ด้วง ปลวก และตักแตน   หากตรวจพบมีการระบาด   ควรฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลงบ้างเพื่อลดการทำลายของศัตรูพวกนี้ให้น้อยลง

79 thoughts on “หมากแดง”

  1. เรียน คุณกิตติ
    ประสานทางโทรฯ แล้ว (นายสั่งเพิ่มอีก 20 ต้น โดยให้ใส่ไปในกลอ่งเดียวกัน และส่งเงินทางธนาคารฯ แล้ว)
    (รวมเป็น 40 ต้นในกลอ่งเดียวกัน) 
    เช้าวันอังคารที่ 22 พ.ค. 55   ยังไม่ได้รับ(หมากแดง) ครับ
    จะรอก่อน  ถ้าอีก 2 วันยังไม่ได้รับ  จะโทรฯ ประสานครับ

  2. สวัสดีค่ะ  ส่งหมากแดงไปแล้วค่ะ 19/05/55 เลขโลจิก LB017242902TH  ขอบคุณค่ะ

  3. สั่งหมากแดง เบอร์ 1 จำนวน 20 ต้น ๆ ละ25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    ค่าส่ง(ถึงบ้าน) จำนวน 300 บาท  เป็นเงินทั้งสิ้น 800 บาท
    ส่งที่ น.ต.สิงห์  แดงไพโรจน์  บ้านเลขืั้ 183/699 ม.3 ถ. สรงประภา
    แขวงสีกัน   เขตดอนเมือง กทม. 10210
    (จะส่งเงินให้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาสุไหงโกลก ชื่อบัญชี
    นายกิตติ  หวังธรรมมั่ง ออมทรัพย์ที่ 247-2-15653-8)
    กรุณาส่งให้ด้วยะนะครับ

  4. เรียนคุณกิติ
    ผมขอทราบราคา เมล็ดหมากและปาล์มในสวนของท่าน ในตอนนี้ ว่ายังราคาเดิมหรือเปล่า หรือมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อ 
    ขอบคุณล่วงหน้ามากๆครับ
    ดำริห์  ยอดสุรางค์  
    133  หมู่ 2 ตำบลหนองครก  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000 

  5. กิตติ

    ตอบคุณตั้ม ศุภฤกษ์ รักพงษ์ไทย
    คุณคิดถูกต้องแล้วครับ  หมากแดงเบอร์๔  ต้นละ๒๕๐บาท๒ต้น๕๐๐บาท  ราชบุรีส่งทางรถไฟได้ค่าส่งต้นละ๑๕๐บาทครับ
    ขอบคุณมากครับ

  6. ดึกๆุคุณอากิตติจะกลับถึงบ้านนะคะ  คงจะได้ตอบใตตอนนั้น  จะตอบแทนก็ไม่ค่อยสันทัดเรื่องหมากแดงแลการขนส่งค่ะ   ขอบคุณมากค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

กรุณากรอกอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์

Shopping Cart